WHERE CLAUSE หลายเงื่อนไข และการจัดลำดับเงื่อนไข
เงื่อนไขในการ Query ข้อมูลส่วนมากจะประกอบด้วยหลายเงื่อนไข ซึ่งแต่ละเงื่อนไขก็จะเชื่อมหรือรวมกันด้วย Logic คือ AND และ OR


เงื่อนไขในการ Query ข้อมูลส่วนมากจะประกอบด้วยหลายเงื่อนไข ซึ่งแต่ละเงื่อนไขก็จะเชื่อมหรือรวมกันด้วย Logic คือ AND และ OR
การ Query ข้อมูลจาก Database สามารถทำใด้โดยใช้คำสั่ง Select และเพื่มเงื่อนไขในการกรองข้อมูลตามที่ต้องการได้ ซึ่งมีรูปแบบคำสั่งที่สามารถใช้ใด้หลากหลาย
ตัวอย่างโครงสร้างคำสั่ง SELECT * FROM customers WHERE country =’USA’
แปล Code เป็นความเข้าใจคือ เลือก ข้อมูลทุกคอลัมน์ จาก ตาราง customers เมื่อ ประเทศ = ‘USA’
ตัวดำเนินการ (Operator)
Operator | ความหมาย | ตัวอย่าง |
= | เท่ากับ | WHERE country = ‘USA’ |
<> | ไม่เท่ากับ | WHERE country <> ‘USA’ |
> | มากกว่า | WHERE customerNumber >100 |
>= | มากกว่าหรือเท่ากับ | WHERE customerNumber >=100 |
< | น้อยกว่า | WHERE customerNumber < 100 |
<= | น้อยกว่าหรือเท่ากับ | WHERE customerNumber <= 100 |
BETWEEN | ระหว่างช่วง | WHERE customerNumber BETWEEN 100 AND 200 |
LIKE | เหมือน | WHERE country LIKE ‘U%’ % คืออักษใดๆก็ใด้ |
IN | ในรายการที่ระบุ | WHERE country IN (‘USA’, ‘THAILAND’) |
IS | เป็น | WHERE country IS NULL |
การการเรียงลำดับข้อมูลจาก Database สามารถทำใด้โดยใช้คำสั่ง ORDER BY
ตัวอย่างโครงสร้างคำสั่ง SELECT * FROM customers ORDER BY country, customerNumber ASC
แปล Code เป็นความเข้าใจคือ เลือก ข้อมูลทุกคอลัมน์ จาก ตาราง customers จัดเรียงลำดับข้อมูล country และจัดเรียง customerNumber ในแต่ละ country
ASC จัดเรียงจากน้อยไปมาก
DESC จัดเรียงจากมากไปน้อย
หากไม่ระบุรูปแบบการจัดเรียง จะถูกกำหนดโดยอัตโนมัติเป็น ASC
รูปแบบข้อมูลที่ได้
ทดลองทำแบบฝึกหัดด้วยนะครับ
การดึงข้อมูลจาก Database สามารถทำใด้โดยใช้คำสั่ง Select
ตัวอย่างโครงสร้างคำสั่ง SELECT * FROM customers
แปล Code เป็นความเข้าใจคือ เลือก ข้อมูลทุกคอลัมน์ จาก ตาราง customers
เดต้าเบสที่ใช้งานกันส่วนใหญ่จะมีการเก็บข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ในบทความนี้จะแสดงตัวอย่างและรูปแบบการประยุกต์ การเก็บข้อมูลเชิงสัมพันธ์